วันพุธที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

สรุปเนื้อหาบทที่ 6-7-8 (อ.สุรินทร์)

สรุปบทที่ 6
Domain Name System (DNS),Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP)
และ Lightweight Directory Access Protocol (LDAP)

Domain Name System (DNS: RFC 1035)
ระบบ Domain Name System หรือ DNS นี้เป็นระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP Address (name-to-IP Address mapping) โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่เรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว กลไกหลักของระบบ DNS คือ ทำหน้าที่แปลงข้อมูลชื่อและหมายเลข IP Address หรือทำกลับกันได้ มีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมอื่น ๆ อีก เช่น แจ้งชื่อของอีเมล์เซิร์ฟเวอร์ใน domain ที่รับผิดชอบด้วย ดังนั้นเครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 1 เครื่องจะมีการอ้างถึงได้หลายแบบดังนี้
1.อ้างตามชื่อ domain
2.อ้างตาม IP Address
3.อ้างตามหมายเลขฮาร์ดแวร์หรือ MAC address
Primary และ Secondary DNS คือ ในการจัดตั้ง DNS server ขึ้นมาประจำเครือข่ายนั้นมีหลักอยู่ว่า ต้องจัด DNS server เครื่องหลักเรียกว่า Primary DNS Server เพื่อทำหน้าที่เก็บฐานข้อมูลทั้งหมดในการแปลงชื่อเป็นหมายเลข IP Address ของกลุ่ม Domain Name
มีเครื่อง DNS server เครื่องที่สองเป็นเครื่องสำรอง เรียกว่า Secondary DNS server ทำหน้าที่เก็บฐานข้อมูล domain name
DHCP : Dynamic Host Configuration Protocol การทำงานของโปรโตคอล DHCP ได้รับการปรับปรุงมาจากโปรโตคอล Botstrap กล่าวคือได้เพิ่มเติมความสามารถในการนำแอดเดรสที่กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์นำไปใช้งานกลับมาแล้วแจกจ่ายออกไปใหม
ขั้นตอนการสร้างกำหนดแอดเดรสให้กับ DHCP client
ขั้นตอนที่ 1 -IP Lease Request
ขั้นตอนที่ 2 -IP Lease Offer
ขั้นตอนที่ 3 -IP Lease Selection
ขั้นตอนที่ 4 -IP Lease Acknowledgement
Lightweight Directory Access Protocol (LDAP) จะใช้ระบบการเรียกชื่อหรือ Naming Schema และ Namespace ตามแบบของมาตรฐาน x.500 โดยที่จะมี Object ทำหน้าที่เป็น Container หรือ Collection ให้กับ attribute ต่างๆ ของแต่ละ Object นั้นเอง

สรุปบทที่ 7
อีเมล์ และโปรโตคอลของอีเมล์
อีเมล์ (E-mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันพัฒนาขึ้นมาเป็นระบบ Workflow ที่ใช้อีเมล์เป็นพื้นฐาน การทำงานของอีเมล์ไคลเอนต์และอัเมล์เซิร์ฟเวอร์มีส่วนประกอบดังนี้
1.User Agent เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางด้านผู้ใช้งาน
2.MTA (Mail Transfer Agent) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะส่งอีเมล์จากต้นทางไปยังผู้รับปลายทาง
โปรโตคอลและประเภทการใช้งาน
การทำงานโดยทั่วๆไปของอีเมล์โดยสรุปมีเพียง 2 ประเภทคือ การส่งอีเมล์ และการรับอีเมล์ จะมีโปรโตคอล SMTP,POP และ IMAP
POP3 จะทำงานในแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ คือมีโปรแกรม POP server ในเมล์เซิร์ฟเวอร์ และ POP client ในเครื่องผู้รับ ซึ่งปกติจะฝังอยู่ในโปรแกรมที่เป็น User agent เลย ขั้นตอนการทำงานของ POP3 ประกอบด้วย 3 สถานะคือ สถานะขออนุมัติ,สถานะรับส่งรายการและสถานะปรับปรุงข้อมูล
SMTP จะใช้การอ้งถึงเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ ตามแบบ DNS หรือ Domain Name System เช่นเดียวกับระบบอื่น ๆในอินเตอร์เน็ตและยังสามารถส่งอีเมล์ไปยังผู้รับคนเดียวหรือหลายๆคนพร้อมกันได้
IMAP4 การทำงานใช้พอร์ตหมายเลข 143 มี 4 สถานะ คือ สถานะก่อนอนุมัติ,สถานะได้รับการอนุมัติ,สถานะเลือกเมล์บ็อกซ์และสถานะเลิกใช้งาน

สรุปบทที่ 8
การรับส่งไฟล์และระบบไฟล์
FTP เป็นเครื่องมือในการโอนไฟล์ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมสูงสุด คุณสมบัติของ FTP ก็คือสามารถโหลดไฟล์มาจากเซิร์ฟเวอร์หรือส่งไฟล์ไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ได้
วิธีการรับส่งของ FTP คือ
1.Stream Mode รับส่งข้อมูลเรียงลำดับไบต์ส่งต่อกันไปเรื่อย ๆ
2.Block Mode การรับส่งข้อมูลที่เป็นบล็อค
3.Compressed Mode วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูล
ระบบเสริมอื่น ๆในการเรียกใช้ข้อมูลข้ามเครื่อง
GetRight เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานร่วมกับบราวเซอร์ จะถูกเรียกขึ้นมาทำงานโดยอัตโนมัติ โดยจะมาแทนที่ไดอะล็อกซ์ปกติของบราวเซอร์ โดยจะบันทึกชื่อ URL ที่ดาวน์โหลดไฟล์นั้น ๆและชื่อไฟล์เอาไว้
WebNFS สามารถใช้งานกับระบบไฟล์แบบ NFS ตั้งแต่เวอร์ชั่น 1-3 จุดเด่นของ WebNFS ก็คือ การโอนย้ายข้อมูลซึ่งจะมีกลไกที่สามารถตรวจสอบและรับส่งไฟล์ต่อจากที่เคยส่งต่อมาแล้วแต่ไม่สำเร็จได้ด้วย
WebDAV มีความสามารถหลัก 3 ข้อคือ การป้องกันการบันทึกข้อมูลซ้ำ,คุณสมบัติของทรัพยากรและการจัดการ
CIFS โดยจะยอมให้คอมพิวเตอร์อื่นที่ต่อผ่านเครือข่ายเข้ามาสามารถใช้เซิร์ฟเวอร์ของ CIFS ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้