วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

สรุปเนื้อหาบทที่ 2-3 (อ.สุรินทร์)

สรุปเนื้อหาบทที่ 2
โปรโตคอลและ IP Address
โปรโตคอล คือ ระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง การออกแบบโปรโตคอล เช่น โปรโตคอล IPX/SPX, โปรโตคอล NetBEUI, โปรโตคอล AppleTalk เป็นต้น
โปรโตคอล IPX/SPX พัฒนาโดยบริษัท Novell
โปรโตคอล NetBEUI พัฒนาโดยบริษัท Microsoft
โปรโตคอล AppleTalk พัฒนาโดยบริษัท AppleTalk
IP Address คือ หมายเลขอ้างอิงประจำตัวของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
MAC Address คือ หมายเลขที่ถูกกำหนดมาจากบริษัท ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขได้
IPv6 คือ มีขนาด 128 บิต ตัวโปรโตคอล IP ได้มีการปรับปรุงส่วน header ให้สนับสนุนการประมวลผลจาก Router ได้เร็วขึ้น ลักษณะการทำงานมี 3 แบบคือ unicast, multicast และ anycast
การจัดลำดับชั้นของเครือข่าย (Network Class)
Class A IP Address บิตแรกของไบต์แรกสุดจะเป็น 0 เสมอ
Class B IP Address 2 บิตแรกของไบต์แรกสุดจะเป็น 1 และ 0 เสมอ
Class C IP Address 3 บิตแรกของไบต์แรกสุดจะเป็น1, 1 และ 0 เสมอ

สรุปเนื้อหาบทที่ 3
โครงสร้างของ โปรโตคอล TCP/IP
1. Process layer หรือ Application Layer
2. Host-to-Host layer หรือ Transport Layer
3. Internetwork layer
4. Network Interface layer

1. Process layer หรือ Application Layer มีโปรโตคอลหลัก ๆ ที่ทำงานใน process layer ซึ่งผู้ใช้มักจะคุ้นเคยกันดีได้แก่ FTP(File Transfer Protocol, Telnet, HTTP(HyperText Transfer Protocol) และ SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)

2. Host-to-Host layer หรือ Transport Layer มีโปรโตคอลหลัก ๆ คือ TCP กับ UDP
TCP คือ โปรโตคอลที่มีการรับส่งข้อมูลแบบ stream oriented protocol หมายความว่า การรับส่งข้อมูลจะไม่คำนึงปริมาณข้อมูลที่จะส่งไป แต่จะแบ่งข้อมูลเป็นส่วนย่อยๆ ก่อน แล้วจึงส่งไปยังปลายทางอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับข้อมูล
UDP คือโปรโตคอลรับส่งข้อมูลแบบที่ทั้งสองด้าน
ไม่จำเป็นต้องอาศัยการสร้างช่องทางการเชื่อต่อ (Connectionless) ระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้บริการกับเครื่องที่ร้องขอใช้บริการโดยไม่ต้องแจ้งให้ฝ่ายรับข้อมูลเตรียมรับข้อมูล

3.Internetwork layer มีหน้าที่ส่งผ่านข้อมูลในระหว่างเครือข่าย คือ โปรโตคอล IP (Internet Protocol) นอกจากนี้ยังมีโปรโตคอลที่ทำงานอีก 2 ชนิด คือ โปรโตคอล Internet Control Message Protocol (ICMP) และโปรโตคอล Address Resolution Protocol (ARP)

4.Network Interface layer จะเป็นการแปลงข้อมูล IP datagram ให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม และแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังเครือข่ายต่อไป

วันพุธที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

โปรโตคอล 3 ชนิด (อ.สุรินทร์)

โปรโตคอล IPX/SPX
พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Novell แบ่งออกเป็นโปรโตคอลหลัก 2 โปรโตคอล คือ Internetwork Packet Exchange(IPX) และ Sequenced Packet Exchange(SPX) โดยโปรโตคอล IPX ทำหน้าที่ในระดับ network layer ตามมาตรฐาน OSI Model มีกลไกในการส่งข้อมูลแบบ connectionless, unreliable หมายความว่า เมื่อมีการส่งข้อมูลโดยไม่ต้องทำการสถาปนาการเชื่อมต่อกันระหว่าง host กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกันอย่างถาวร และไม่ต้องการรอสัญญาณยืนยันการรับข้อมูลจากปลายทางโดยตัวโปรโตคอลจะพยายามส่งข้อมูลนั้นไปยังปลายทางให้ดีที่สุด สำหรับโปรโตคอล SPX ทำหน้าที่ในระดับ transport layer ตามมาตรฐาน OSI Model โดยส่งผ่านข้อมูลในแบบตรงข้ามกับโปรโตคอล IPX คือ ต้องมีการทำการสถาปนาการเชื่อมโยงกันก่อน และมีการส่งผ่านข้อมูลที่เชื่อถือได้ ด้วยการตรวจสัญญาณยืนยันการรับส่งข้อมูลจากปลายทาง

โปรโตคอล NetBEUI
โปรโตคอล NetBEUI หรือ NetBIOS Enhanced User Interface นั้นเป็นโปรโตคอลที่ไม่มีส่วนในการระบุเส้นทางส่งผ่านข้อมูล(Non-routable Protocol) โดยจะใช้วิธีการ Broadcast ข้อมูลออกไปในเครือข่าย และหากใครเป็นผู้รับที่ถูกต้องก็จะนำข้อมูลที่ได้รับไปประมวลผล ข้อจำกัดของโปรโตคอลประเภทนี้ คือ ไม่สามารถทำการ Broadcast ข้อมูลข้ามไปยัง Physical Segment อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ Segment เดียวกันได้ เนื่องจากอุปกรณ์อย่างเช่น Router ไม่สามารถจะ Broadcast ข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่นๆได้ เพราะถ้าหากยอมให้การสื่อสารระหว่างเครือข่ายเต็มไปด้วยข้อมูลที่เกิดจากการ Broadcast จนทำให้เครือข่ายต่าง ๆ ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โปรโตคอล NetBUEI จึงเหมาะที่จะใช้งานบนเครือข่ายขนาดเล็ก ที่มีเครื่องไม่เกิน 50 เครื่องเท่านั้น

โปรโตคอล DHCP
(Dynamic Host Configuration Protocol)
คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการกำหนด IP Address อัตโนมัติแก่เครื่องลูกข่ายบนระบบ ที่ติดตั้ง TCP/IP สำหรับ DHCP server มีหน้าที่แจก IP ในเครือข่ายไม่ให้ซ้ำ เป็นการลดความซ้ำซ้อน เมื่อเครื่องลูกเริ่ม boot ก็จะขอ IP address, Subnet mark, หมายเลข DNS และ Default gateway
ขั้นตอนการเชื่อมต่อของเครื่องลูกกับ DHCP server
1. เครื่องลูกค้นหาเครื่อง DHCP server ในเครือข่าย
โดยส่ง DHCP discover เพื่อร้องขอ IP address
2. DHCP server จะค้นหา IP ที่ว่างอยู่ในฐานข้อมูล
แล้วส่ง DHCP offer กลังไปให้เครื่องลูก
3. เมื่อเครื่องลูกได้รับ IP ก็จะส่งสัญญาณตอบกลับ
DHCP Request ให้เครื่องแม่ทราบ
4. DHCP server ส่งสัญญาณ DHCP Ack
กลับไปให้เครื่องลูก เพื่อแจ้งว่าเริ่มใช้งานได้

วันพุธที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

วิเคราะห์ปัญหา IT กับธุกิจในปัจจุบัน (อ.สุรินทร์)

อินเทอร์เน็ตกับธุกิจการเกษตร

ธุรกิจการเกษตรไทย
ธุรกิจการเกษตรหากนิยามแบบง่าย ๆ ก็คือกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ซึ่งครอบคลุมทุกด้าน ตั้งแต่การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ กระบวนการผลิต การแปรรูป การรักษา การขนส่ง การจำหน่าย และอื่น ๆ หรือกล่าวรวมคือทุกส่วนที่เกี่ยวกับการเกษตร ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเกษตรมีเป็นจำนวนมาก เช่น เกษตรกร นักวิชาการ บริษัทขนส่ง บริษัทแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร กระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก การประกอบกิจกรรมการเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จากการใช้แรงงานคนและสัตว์ มาเป็นการใช้เครื่องมือเครื่องจักรมากขึ้นตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี รูปแบบของการผลิตเพื่อใช้ยังชีพในครอบครัวก็เปลี่ยนมาเป็นการผลิตเพื่อการค้า

อาชีพเกษตรกร

ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมนั้น เกษตรกรจำเป็นต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจ และต้องมีความสามารถในการแก้สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ สังคมไทยยังให้ความสำคัญกับเรื่องของวุฒิการศึกษามากเกินไป ทำให้เกษตรกรจำนวนมากรู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่าผู้อื่น สิ่งหนึ่งที่ผมอยากให้พิจารณาคือ การให้การยอมรับในประสบการณ์และความสามารถ ภาครัฐและหน่วยงานต่าง ๆ ควรให้การสนับสนุนในส่วนของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรในรูปแบบที่เหมาะสม และถูกต้องแก่เกษตรกรมากยิ่งขึ้น เพื่อที่เกษตรกรจะสามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นในการประกอบการ และยังเป็นการเพิ่มพูนความรู้ด้วย เป็นที่มั่นใจได้ว่า หากเกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ปัญหาต่าง ๆ ก็จะลดลง

การแก้ปัญหา (ที่ผ่านมา)
การแก้ปัญหาวิธีหนึ่งก็คือก
ารเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิตต่อหน่วยให้สูงขึ้น รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าการเกษตร เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อพิจารณาถึงปริมาณและคุณภาพของผลผลิตการเกษตรต่อพื้นที่ของไทยกับประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่า ทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรยังต่ำกว่าประเทศที่มีการพัฒนาแล้วมาก ดังนั้นการพัฒนาธุรกิจการเกษตรของไทยจึงจำเป็นต้องพึ่งเทคโนโลยีและองค์ความรู้ในการดำเนินการให้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการประยุกต์ให้เหมาะสมกับการนำมาใช้งานด้วย มิฉะนั้นจะกลายเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเกษตร หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานการเกษตรได้พยายามนำระบบเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยในการส่งเสริมการเกษตรและธุรกิจการเกษตร มีการสร้างแหล่งข้อมูลการเกษตร โดยรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรมาเก็บไว้ในรูปแบบดิจิตอลเพื่อเป็นองค์ความรู้สำหรับผู้ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักวิจัย เกษตรกร หรือพ่อค้าก็ตาม สามารถให้ผู้ที่ต้องการใช้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็วผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต องค์ความรู้หรือรูปแบบของข้อมูลที่จะนำเสนอในงานเกษตรนั้น นอกจากต้องมีความถูกต้อง แม่นยำสมบูรณ์แล้ว ยังต้องมีรูปแบบของการนำเสนอให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละกลุ่มที่ใช้งานข้อมูล ตัวอย่างเช่น นักวิจัยกับเกษตรกรมีความต้องการลักษณะข้อมูลที่แตกต่างกัน นักวิจัยอาจต้องการข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นสถิติ สำหรับการวิเคราะห์ การพยากรณ์ ในขณะที่กลุ่มของเกษตรกรนั้นต้องการข้อมูลที่เข้าใจถูกต้อง เชื่อถือได้ เข้าใจได้ง่าย และสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ ดังนั้นรูปแบบการนำเสนอองค์ความรู้ ข้อมูลและข่าวสารคงต้องมีความเหมาะสมในแต่ละกลุ่มด้วย

เกษตกรกับอินเทอร์เน็ต
คงไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงคำถาม
ที่ว่า เกษตรกรจะใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างไร หากตอบว่าเกษตรกรของไทยในปัจจุบันนั้นมีทั้งจบปริญญาตรี ปริญญาโท หรือแม้แต่ปริญญาเอกก็มี คงไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องนัก เพราะเกษตรกรกลุ่มนี้เป็นส่วนที่น้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ยังมีการศึกษาที่ไม่สูงนัก และมีฐานะที่ยากจน อีกทั้งบางพื้นที่นั้นยังเป็นถิ่นทุรกันดาร ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการให้ความรู้หรือข้อมูลที่อยู่ในเครือข่ายไปสู่เกษตรกรให้ได้ หากเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่ประชุมเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2543 ที่ได้มีการเสนอวาระเข้าที่ประชุม เพื่อจะมีการขยายอินเทอร์เน็ตให้เข้าถึงหมู่บ้านทุกแห่งทั่วประเทศประมาณ 7,000 ตำบล โดยให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นหน่วยงานหลักในการติดต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต จึงเป็นอีกงานหนึ่งของ อบต. ที่จะต้องเป็นเสมือนตัวกลางในการสื่อความรู้และข่าวสารแก่กลุ่มเกษตรกร ในส่วนนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าห่วง ไม่ใช่กลัวว่ากลุ่มผู้บริหาร อบต. จะไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ต เนื่องจากในประเด็นนี้ส่วนกลางคงมีการจัดการอบรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตและการนำข้อมูลไปใช้งานจริง แต่ที่เป็นห่วงก็คือกลัวว่าคอมพิวเตอร์นั้นจะกลายเป็นเครื่องเล่นเกมออนไลน์ หรือเป็นขยะชิ้นหนึ่งที่ไม่มีการใช้งานแทน นอกจาก อบต. แล้ว หน่วยงานอื่นอย่างเช่น เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ สถาบันการศึกษาท้องถิ่น ก็จำเป็นที่ต้องช่วยส่งเสริมในการจัดการข้อมูลการเกษตร เช่น ช่วยสร้างข้อมูลการเกษตรของแต่ละท้องถิ่น ประยุกต์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ให้เหมาะกับการเกษตรท้องถิ่น หรือให้การอบรมให้เกษตรกรสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในระดับหนึ่งได้

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับธุรกิจการเกษตรไทย

ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ ECRC ได้พยายามเข้ามาเป็นส่วนในการสนับสนุนให้มีการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมและธุรกิจต่าง ๆ รวมทั้งธุรกิจการเกษตรด้วย โดยได้มีการจัดประชุมสัมมนาหลายครั้ง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายหน่วยงาน เช่น ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรของไทย ได้พยายามนำเสนอข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ในส่วนของบริษัท ห้างร้าน ก็ได้เริ่มมีการประกอบธุรกิจการเกษตร โดยใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บ้างแล้ว
การนำระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับธุรกิจการเกษตรนั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบเช่นเดียวกับสินค้าประเภทอื่น เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเกษตร การซื้อขายสินค้าทางการเกษตร การเผยแพร่การประชาสัมพันธ์สินค้าทางการเกษตร ซึ่งเกษตรกรหรือกลุ่มธุรกิจการเกษตรจำเป็นต้องวิเคราะห์รูปแบบการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ให้เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด เช่น กลุ่มธุรกิจการเกษตรที่ส่งออกอาจใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์และสินค้าทางการเกษตร รวมทั้งการสั่งสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต หรือกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรก็สามารถนำเสนอและขายสินค้าการเกษตรที่แปรรูปแล้วผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้เช่นเดียวกัน

การนำเสนอธุรกิจการเกษตรบนอินเทอร์เน็ต
หน่วยงานและองค์กรของรัฐเริ่มมีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารการเกษตรบนอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของการให้ข้อมูลและความรู้ สำหรับบริษัทเอกชน กลุ่มเกษตรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเกษตร หากต้องการใช้อินเทอร์เน้ตเป็นเครื่องมือหนึ่งในการประกอบธุรกิจการเกษตรก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน การนำเสนอธุรกิจการเกษตรบนอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับการนำเสนอทั่วไปที่ประกอบด้วยการแนะนำตัว ไม่ว่าจะเป็นบริษัทหรือกลุ่มเกษตรกร เพื่อสร้างความมั่นใจ รายละเอียดของสินค้า เช่น ลักษณะ รูปร่าง สี ขนาด ราคา และอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับผลผลิตนั้น ๆ และสิ่งสำคัญคือจะต้องสามารถติดต่อ แสดงความคิดเห็น และตรวจสอบผู้ประกอบการได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนที่สำคัญที่สุดก็ยังอยู่ที่คุณภาพของผลผลิต การตลาดและยังคงต้องการความสนับสนุนจากภาครัฐในช่วงเริ่มต้น

สรุป
แม้การใช้อินเทอร์เน็ตจะไม่ใช่ทางแก้ปัญหาการเกษตรทั้งหมด แต่ก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้การเกษตรมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี และเมื่อเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง รุปแบบขององค์กร การบริหาร การดำเนินการต่าง ๆ ต้องเปลี่ยนไปให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ดังที่มีรูปแบบที่เรียกว่า Managing Technological Change เพื่อรองรับกับการแข่งขันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การประกอบธุรกิจการเกษตรจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน และที่สำคัญคือไม่สามารถมองข้ามความสำคัญของเทคโนโลยีได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เกษตรและบุคลากรการเกษตรที่เป็นผู้ใช้ข้อมูลและเครือข่ายจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเพื่อที่จะสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รายชื่อเว็บไซท์ทางการเกษตร สามารถหาเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ หรือที่ www.thaiagris.lib.ku.ac.th

วันอังคารที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

อุปกรณ์ที่ใช้บนเครือข่าย ( อ.สุรินทร์ )

อุปกรณ์เครือข่าย

1. Router (Internetwork Layer)

ในอินเตอร์เน็ต Router เป็นอุปกรณ์ หรือบางกรณีอาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ที่ใช้หาจุดต่อไปของเครือข่าย ที่แพ็คเกตสามารถส่งไปยังจุดหมายปลายทางได้ router ต้องต่อกับเครือข่ายอย่างน้อย 2 ข่าย และตัดสินใจเลือกเส้นทางที่สารสนเทศของแพ็คเกต ซึ่งทราบสถานะของเครือข่ายแล้ว ที่ต้องการติดต่อถึง router เป็นตำแหน่งของเชื่อมต่อของเครือข่าย หรือ gateway รวมถึง Internet POP โดยปกติ router เป็นตำแหน่งของระบบสวิชต์ของเครือข่าย

Router จะสร้างและรักษาตาราง routing (เส้นทางที่ใช้งานได้) และเงื่อนไขสำหรับการใช้เป็นสารสนเทศของระยะทาง และ algorithm ของค่าใช้จ่าย เพื่อหาเส้นทางที่ดีที่สุดสำหรับแพ็คเกต ตามปกติ แพ็คเกตจะเดินทางผ่านจุดต่าง ๆ ของเครือข่ายตามเส้นทางก่อนถึงจุดหมายปลายทาง edge router เป็น router ที่ใช้อินเตอร์เฟซกับระบบเครือข่ายแบบ asynchronous transfer mode ส่วน brouter เป็นเครือข่ายแบบสะพานที่รวมกับ router

2. Hub หรือ Repeater (Host-to-Host Layer)

hub มีความหมายโดยทั่วไป คือ เป็นส่วนกลางของล้อ ในด้าน data communication นั้น hub เป็นสถานที่ของการรวมข้อมูลจากหลาย ๆ ทิศทางและส่งต่อไปยังทิศทางอื่น ตามปกติ hub มักจะรวม switch บางประเภท ซึ่ง hub มีลักษณะที่เป็นที่รวมของข้อมูล และ switch ทำหน้าที่ค้นหาข้อมูลและสถานที่ส่งต่อข้อมูลจากที่รวมข้อมูล นอกจากนี้ hub ยังรวมถึง router

1. ใน topology ของเครือข่าย t
opology ของ hub ประกอบด้วย backbone ที่แหล่งรวมของสายต่อเชื่อมและมีจุดการเชื่อให้กับอุปกรณ์ สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่ไม่ได้ต่อกับระบบเครือข่ายแบบ การใช้ topology ในกรณีเป็นการติดต่อกับผู้ให้บริการสำหรับเครือข่ายระบบอื่น topology คือ เครือข่ายแบบ bus และ ring

2. สินค้าประเภทเครือข่าย hub มักรวมถึงการ์ด modem สำหรับการหมุนติดต่อ การ์ดของ gateway สำหรับการต่อกับระบบ เครือข่ายแบบ (เช่น Ethernet) และสายต่อเชื่อมหลักhub

3. Gateway
( Internet Layer )


Gateway เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายใ
นเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gateway

ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง router และ switch

4. Modem ( Internet Layer )

Modem (โมเด็ม) ส่งออกสัญญาณในรูปของคลื่นโดยการแปลงสัญญาณดิจิตัล จากเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ดิจิตัล ให้เป็นสัญญาณอะนาล็อก สำหรับส่งสัญญาณผ่านสายโทรศัพท์ แบบดั้งเดิม และรับสัญญาณเข้าโดยการแปลงสัญญาณคลื่นแบบอะนาล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล สำหรับอุปกรณ์แบบดิจิตัล

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา โมเด็มขนาด 2400 bps (บิตต่อวินาที) ได้ล้าสมัยไปแล้ว โมเด็มขนาด 14.4 Kbps และ 28.8 Kbps ได้นำมาใช้ระยะหนึ่งบนการพัฒนาขยายขนาด bandwidth ของอุปกรณ์และตัวกลาง เมื่อช่วงต้นปี 1998 เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่ จะใช้กับโมเด็มขนาด 56 Kbps เมื่อเปรียบเทียบอะแด็ปเตอร์แบบดิจิตอล ISDN โ
ดยใช้สายโทรศัพท์ที่เหมือนกัน จะสามารถส่งข้อมูลได้ 128 Kbps ด้วยระบบ Digital Subscriber Line (DSL) สามารถเพิ่มจำนวนการติดต่อและขนาด bandwidth บนสายโทรศัพท์ให้เป็นขนาด เมกกะบิต

5. Switch
หรือ Bridge ( Internet Layer )


ในโทรคมนาคม, switch เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้เลือกเส้นทาง หรือวงจรสำหรับการส่งข้อมูล หรือปลายทางต่อไป switch (สวิท์ช) อาจจะรวมการทำงานของ router, อุปกรณ์หรือโปรแกรม ที่สามารถค้นหาเส้นทาง หรือกำหนดจุดบนเครือข่ายที่ติดต่อกัน เพื่อให้ส่งข้อมูลไป โดยทั่วไป สวิท์ช เป็นกลไกที่ง่าย และเร็วกว่า router ซึ่งต้องการความรู้เกี่ยวกับเครือ และวิธีการหาเส้นทาง


เลเยอร์ของชุดโปรโตคอล TCP/IP ทั้ง 4 ชั้น คือ

1. Process Layer

2. Internetwork Layer
3. Host-to-Host/Transport Layer
4. Process/Application Layer

รายละเอียดแต่ละเลเยอร์

1. Process Layer
จะประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารเข้ากับเครือข่าย

หน้าที่ของโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้นนี้คือจัดหาเส้นทางของข้อมูลให้ระหว่าง Host กับ Host ควบคุมการไหล ของข้อมูล และควบคุมความผิดพลาดของข้อมูล

2. Internetwork Layer
ประกอบด้วยขั้นตอนการอนุญาตให้ข้อมูลไหลผ่านไปมาระหว่าง Host ของ

เครือข่าย 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ดังนั้นโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้น Internet นอกจากจะมีหน้าที่จัดเส้นทาง ของข้อมูลแล้ว ยังต้องทำหน้าที่เป็นเกตเวย์สำหรับการติดต่อกับเครือข่ายอื่นอีกด้วย

3. Host-to-Host/Transport Layer ประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ส่งผ่านแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง
เอนทิตี้ของ Host ต่างเครื่องกัน นอกจากนั้นโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้นนี้ยังมีหน้าที่ในการควบคุมการไหลของ ข้อมูลและควบคุมความผิดพลาดของข้อมุลด้วย โปรโตคอลที่ใช้กันโดยทั่วไปในเลเยอร์ชั้นนี้ ได้แก
- โปรโตคอล Reliable Connection-oriented โดยทำหน้าที่จัดลำดับของข้อมูล ตรวจสอบ
ตำแหน่งของต้นทางและปลายทางของข้อมูล ทำให้ข้อมูลนั้นเชื่อถือได้
- โปรโตคอล Datagram เพื่อลดขนาดของ Overhead ของข้อมูล และจัดเส้นทางการสื่อสาร
- โปรโตคอล Speed เพื่อเพิ่มความเร็วในการสื่อสารข้อมูลโดยการลดเวลาประวิง (Delay)
ให้เหลือน้อยที่สุด
- โปรโตคอล Real-time เป็นการรวมลักษณะของโปรโตคอล Reliable Connection-oriented
กับโปรโตคอล Speed

4. Process/Application Layer
ประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่แชร์แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่ง

กันและกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินัลที่อยู่ไกลออกไป





วันอาทิตย์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

ลองชมก่อนค่ะ

** ………………..★
…………………*………………...
☆...…………**…………..☆
..**……….*….*……..**
….*..*…..*…..*….*..*
……*…..*……….*.....*
……************……….
……..*..lovel…*
…..*..lovelovelo…*
…*..lovelovelove….*
..*.lovelovelovelove…*…………….*….*
.*..lovelovelovelovelo…*………*..lovel….*
*..lovelovelovelovelove…*….*…lovelovelo.*
*.. lovelovelovelovelove…*….*…lovelovelo.*
.*..lovelovelovelovelove…*..*…lovelovelo…*
..*…lovelovelovelovelove..*…lovelovelo…*
…*….lovelovelolovelovelovelovelovelo…*
…..*….lovelovelovelovelovelovelov…*
……..*….lovelovelovelovelovelo…*
………..*….lovelovelovelove…*
……………*…lovelovelo….*
………………*..lovelo…*
…………………*…..*
………………….*..*

ไปก๊อปปี้เขามาอีกที ขอบคุนเจ้าของที่มีความคิดสร้างสรรค์นะคะ

วันศุกร์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

คำศัพท์เกี่ยวกับโทรคมนาคม 15 คำ <4921237084>


1. ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)
เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการส่งข้อมูลแบบดิจิตอลสำหรับการสื่อสารแบบมัลติมีเดีย ด้วยความเร็วสูง



2. Analog
เป็น เทคโนโลยี การส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิค โดยการรวมสัญญาณ ของหลาย ความถี่ อีกความหมายคือ การแปรขบวน การแกว่ง



3. Backbone
สายส่งขนาดใหญ่ ในการนำข้อมูลจากสายขนาดเล็กกว่าเพื่อการเชื่อมต่อภายใน



4. Bridge
เป็นผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายแบบ LAN ไปยัง
เครือข่าย LAN อื่น โดยใช้โปรโตคอลเดียวกัน



5. Cable modem
เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกับสายเคเบิลทีว



6. Datagram
ที่เก็บข้อมูลที่เป็นอิสระ ซึ่งมีสารสนเทศเพียงพอในการเดินทาง
จากแหล่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง



7. E-tailing
เป็นการขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ต ย่อจาก "electronic retailing "



8. EDI (electronic data interchange) เป็นรูปแบบมาตรฐานสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจมาตรฐาน



9. Fax
บางครั้ง เรียกว่า "telecopying" fax เป็นการส่งผ่านทางโทรศัพท์ของ การสแกนสิ่งพิมพ์ (ข้อความหรือภาพ)




10. Fiber optical
ตัวกลาง หรือ เทคโนโลยีตรงกับการส่งของสารสนเทศ เป็นสัญญาณแสงผ่านแก้ว หรือสายพลาสติก หรือ fiber ความสามารถการนำพาสารสนเทศของ optical fiber มีมากกว่าสายทองแดงดั้งเดิม




11. Gateway
เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต




12. Gopher
เป็นโปรโตคอลแบบประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะจัดโครงสร้างไฟล์ที่อยู่บนเครื่องแม่ข่าย




13. Hub
คือ เป็นส่วนกลางของล้อ ในด้าน datacommunication นั้น hub เป็นสถานที่ ของการรวมข้อมูลจากหลาย ๆ ทิศทางและส่งต่อไปยังทิศทางอื่น




14. Hypertext
เป็นการจัดการหน่วยสารสนเทศในการติดต่อ ที่ผู้ใช้เลือกสำหรับสร้างโดยมีลักษณะ เช่นเดียวกับการเชื่อ(Link) หรือ hypertext link




15. Kilohertz
(กิโลเฮิร์ทซ) อักษรย่อ คือ KHZ
หรือ kHz เป็นหน่วยวัดกระแสสลับ (AC) หรือความถี่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM) เท่ากับ 1000 hertz (เฮิร์ทซ หรือ HZ) หน่วยนี้ใช้วัดสัญญาณ bandwidth

ทีมาจาก : www.est.buu.ac.th

วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

ข้อเสียของอินเตอร์เน็ต (อ.สุรินทร์ 4921237084)




1. เป็นแหล่งมั่วสุมของกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มมิจฉาชีพที่ใช้ไปในทางที่ผิด
จึงทำให้เกิดผลเสียตามมาในสังคม



2.
ทำให้มีผู้ไม่หวังดีต้องการจะทำให้เกิดความเสียหาย
ต่อบุคคลอื่นโดยไม่สามารถจะเช็ดได้ว่ามาจากที่ใด




3.
ทำให้พฤติกรรมของวัยรุ่นก้าวร้าวและหมกมุ่น
ในกิจกรรมบางอย่างมากเกินไป จนเสียการเรียน




4. มีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
ง่ายการส่งข้อมูลอาจถูกบุคคลอื่นนำไปใช้




5.
ทำให้เยาวชนขาดการสนใจด้านกีฬาหมกมุน
อยู่กับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะเกมออนไลน์ และเว็บลามก




6.
ทำให้ไม่สามารถควบคุมเว็ปไซต์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก และ เยาวชนได




7.
อาจถูกหลอกถูกล่อลวงจากการแชท หรือ โฆษณาต่างๆ