วันพุธที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

โปรโตคอล 3 ชนิด (อ.สุรินทร์)

โปรโตคอล IPX/SPX
พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Novell แบ่งออกเป็นโปรโตคอลหลัก 2 โปรโตคอล คือ Internetwork Packet Exchange(IPX) และ Sequenced Packet Exchange(SPX) โดยโปรโตคอล IPX ทำหน้าที่ในระดับ network layer ตามมาตรฐาน OSI Model มีกลไกในการส่งข้อมูลแบบ connectionless, unreliable หมายความว่า เมื่อมีการส่งข้อมูลโดยไม่ต้องทำการสถาปนาการเชื่อมต่อกันระหว่าง host กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกันอย่างถาวร และไม่ต้องการรอสัญญาณยืนยันการรับข้อมูลจากปลายทางโดยตัวโปรโตคอลจะพยายามส่งข้อมูลนั้นไปยังปลายทางให้ดีที่สุด สำหรับโปรโตคอล SPX ทำหน้าที่ในระดับ transport layer ตามมาตรฐาน OSI Model โดยส่งผ่านข้อมูลในแบบตรงข้ามกับโปรโตคอล IPX คือ ต้องมีการทำการสถาปนาการเชื่อมโยงกันก่อน และมีการส่งผ่านข้อมูลที่เชื่อถือได้ ด้วยการตรวจสัญญาณยืนยันการรับส่งข้อมูลจากปลายทาง

โปรโตคอล NetBEUI
โปรโตคอล NetBEUI หรือ NetBIOS Enhanced User Interface นั้นเป็นโปรโตคอลที่ไม่มีส่วนในการระบุเส้นทางส่งผ่านข้อมูล(Non-routable Protocol) โดยจะใช้วิธีการ Broadcast ข้อมูลออกไปในเครือข่าย และหากใครเป็นผู้รับที่ถูกต้องก็จะนำข้อมูลที่ได้รับไปประมวลผล ข้อจำกัดของโปรโตคอลประเภทนี้ คือ ไม่สามารถทำการ Broadcast ข้อมูลข้ามไปยัง Physical Segment อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ Segment เดียวกันได้ เนื่องจากอุปกรณ์อย่างเช่น Router ไม่สามารถจะ Broadcast ข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่นๆได้ เพราะถ้าหากยอมให้การสื่อสารระหว่างเครือข่ายเต็มไปด้วยข้อมูลที่เกิดจากการ Broadcast จนทำให้เครือข่ายต่าง ๆ ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โปรโตคอล NetBUEI จึงเหมาะที่จะใช้งานบนเครือข่ายขนาดเล็ก ที่มีเครื่องไม่เกิน 50 เครื่องเท่านั้น

โปรโตคอล DHCP
(Dynamic Host Configuration Protocol)
คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการกำหนด IP Address อัตโนมัติแก่เครื่องลูกข่ายบนระบบ ที่ติดตั้ง TCP/IP สำหรับ DHCP server มีหน้าที่แจก IP ในเครือข่ายไม่ให้ซ้ำ เป็นการลดความซ้ำซ้อน เมื่อเครื่องลูกเริ่ม boot ก็จะขอ IP address, Subnet mark, หมายเลข DNS และ Default gateway
ขั้นตอนการเชื่อมต่อของเครื่องลูกกับ DHCP server
1. เครื่องลูกค้นหาเครื่อง DHCP server ในเครือข่าย
โดยส่ง DHCP discover เพื่อร้องขอ IP address
2. DHCP server จะค้นหา IP ที่ว่างอยู่ในฐานข้อมูล
แล้วส่ง DHCP offer กลังไปให้เครื่องลูก
3. เมื่อเครื่องลูกได้รับ IP ก็จะส่งสัญญาณตอบกลับ
DHCP Request ให้เครื่องแม่ทราบ
4. DHCP server ส่งสัญญาณ DHCP Ack
กลับไปให้เครื่องลูก เพื่อแจ้งว่าเริ่มใช้งานได้

ไม่มีความคิดเห็น: