วันอังคารที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

อุปกรณ์ที่ใช้บนเครือข่าย ( อ.สุรินทร์ )

อุปกรณ์เครือข่าย

1. Router (Internetwork Layer)

ในอินเตอร์เน็ต Router เป็นอุปกรณ์ หรือบางกรณีอาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ที่ใช้หาจุดต่อไปของเครือข่าย ที่แพ็คเกตสามารถส่งไปยังจุดหมายปลายทางได้ router ต้องต่อกับเครือข่ายอย่างน้อย 2 ข่าย และตัดสินใจเลือกเส้นทางที่สารสนเทศของแพ็คเกต ซึ่งทราบสถานะของเครือข่ายแล้ว ที่ต้องการติดต่อถึง router เป็นตำแหน่งของเชื่อมต่อของเครือข่าย หรือ gateway รวมถึง Internet POP โดยปกติ router เป็นตำแหน่งของระบบสวิชต์ของเครือข่าย

Router จะสร้างและรักษาตาราง routing (เส้นทางที่ใช้งานได้) และเงื่อนไขสำหรับการใช้เป็นสารสนเทศของระยะทาง และ algorithm ของค่าใช้จ่าย เพื่อหาเส้นทางที่ดีที่สุดสำหรับแพ็คเกต ตามปกติ แพ็คเกตจะเดินทางผ่านจุดต่าง ๆ ของเครือข่ายตามเส้นทางก่อนถึงจุดหมายปลายทาง edge router เป็น router ที่ใช้อินเตอร์เฟซกับระบบเครือข่ายแบบ asynchronous transfer mode ส่วน brouter เป็นเครือข่ายแบบสะพานที่รวมกับ router

2. Hub หรือ Repeater (Host-to-Host Layer)

hub มีความหมายโดยทั่วไป คือ เป็นส่วนกลางของล้อ ในด้าน data communication นั้น hub เป็นสถานที่ของการรวมข้อมูลจากหลาย ๆ ทิศทางและส่งต่อไปยังทิศทางอื่น ตามปกติ hub มักจะรวม switch บางประเภท ซึ่ง hub มีลักษณะที่เป็นที่รวมของข้อมูล และ switch ทำหน้าที่ค้นหาข้อมูลและสถานที่ส่งต่อข้อมูลจากที่รวมข้อมูล นอกจากนี้ hub ยังรวมถึง router

1. ใน topology ของเครือข่าย t
opology ของ hub ประกอบด้วย backbone ที่แหล่งรวมของสายต่อเชื่อมและมีจุดการเชื่อให้กับอุปกรณ์ สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่ไม่ได้ต่อกับระบบเครือข่ายแบบ การใช้ topology ในกรณีเป็นการติดต่อกับผู้ให้บริการสำหรับเครือข่ายระบบอื่น topology คือ เครือข่ายแบบ bus และ ring

2. สินค้าประเภทเครือข่าย hub มักรวมถึงการ์ด modem สำหรับการหมุนติดต่อ การ์ดของ gateway สำหรับการต่อกับระบบ เครือข่ายแบบ (เช่น Ethernet) และสายต่อเชื่อมหลักhub

3. Gateway
( Internet Layer )


Gateway เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายใ
นเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gateway

ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง router และ switch

4. Modem ( Internet Layer )

Modem (โมเด็ม) ส่งออกสัญญาณในรูปของคลื่นโดยการแปลงสัญญาณดิจิตัล จากเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ดิจิตัล ให้เป็นสัญญาณอะนาล็อก สำหรับส่งสัญญาณผ่านสายโทรศัพท์ แบบดั้งเดิม และรับสัญญาณเข้าโดยการแปลงสัญญาณคลื่นแบบอะนาล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล สำหรับอุปกรณ์แบบดิจิตัล

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา โมเด็มขนาด 2400 bps (บิตต่อวินาที) ได้ล้าสมัยไปแล้ว โมเด็มขนาด 14.4 Kbps และ 28.8 Kbps ได้นำมาใช้ระยะหนึ่งบนการพัฒนาขยายขนาด bandwidth ของอุปกรณ์และตัวกลาง เมื่อช่วงต้นปี 1998 เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่ จะใช้กับโมเด็มขนาด 56 Kbps เมื่อเปรียบเทียบอะแด็ปเตอร์แบบดิจิตอล ISDN โ
ดยใช้สายโทรศัพท์ที่เหมือนกัน จะสามารถส่งข้อมูลได้ 128 Kbps ด้วยระบบ Digital Subscriber Line (DSL) สามารถเพิ่มจำนวนการติดต่อและขนาด bandwidth บนสายโทรศัพท์ให้เป็นขนาด เมกกะบิต

5. Switch
หรือ Bridge ( Internet Layer )


ในโทรคมนาคม, switch เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้เลือกเส้นทาง หรือวงจรสำหรับการส่งข้อมูล หรือปลายทางต่อไป switch (สวิท์ช) อาจจะรวมการทำงานของ router, อุปกรณ์หรือโปรแกรม ที่สามารถค้นหาเส้นทาง หรือกำหนดจุดบนเครือข่ายที่ติดต่อกัน เพื่อให้ส่งข้อมูลไป โดยทั่วไป สวิท์ช เป็นกลไกที่ง่าย และเร็วกว่า router ซึ่งต้องการความรู้เกี่ยวกับเครือ และวิธีการหาเส้นทาง


เลเยอร์ของชุดโปรโตคอล TCP/IP ทั้ง 4 ชั้น คือ

1. Process Layer

2. Internetwork Layer
3. Host-to-Host/Transport Layer
4. Process/Application Layer

รายละเอียดแต่ละเลเยอร์

1. Process Layer
จะประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารเข้ากับเครือข่าย

หน้าที่ของโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้นนี้คือจัดหาเส้นทางของข้อมูลให้ระหว่าง Host กับ Host ควบคุมการไหล ของข้อมูล และควบคุมความผิดพลาดของข้อมูล

2. Internetwork Layer
ประกอบด้วยขั้นตอนการอนุญาตให้ข้อมูลไหลผ่านไปมาระหว่าง Host ของ

เครือข่าย 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ดังนั้นโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้น Internet นอกจากจะมีหน้าที่จัดเส้นทาง ของข้อมูลแล้ว ยังต้องทำหน้าที่เป็นเกตเวย์สำหรับการติดต่อกับเครือข่ายอื่นอีกด้วย

3. Host-to-Host/Transport Layer ประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ส่งผ่านแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง
เอนทิตี้ของ Host ต่างเครื่องกัน นอกจากนั้นโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้นนี้ยังมีหน้าที่ในการควบคุมการไหลของ ข้อมูลและควบคุมความผิดพลาดของข้อมุลด้วย โปรโตคอลที่ใช้กันโดยทั่วไปในเลเยอร์ชั้นนี้ ได้แก
- โปรโตคอล Reliable Connection-oriented โดยทำหน้าที่จัดลำดับของข้อมูล ตรวจสอบ
ตำแหน่งของต้นทางและปลายทางของข้อมูล ทำให้ข้อมูลนั้นเชื่อถือได้
- โปรโตคอล Datagram เพื่อลดขนาดของ Overhead ของข้อมูล และจัดเส้นทางการสื่อสาร
- โปรโตคอล Speed เพื่อเพิ่มความเร็วในการสื่อสารข้อมูลโดยการลดเวลาประวิง (Delay)
ให้เหลือน้อยที่สุด
- โปรโตคอล Real-time เป็นการรวมลักษณะของโปรโตคอล Reliable Connection-oriented
กับโปรโตคอล Speed

4. Process/Application Layer
ประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่แชร์แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่ง

กันและกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินัลที่อยู่ไกลออกไป





ไม่มีความคิดเห็น: